สำหรับคนที่ใช้ Power BI ในการทำ Data Visualization บางครั้งเราอาจต้องการดูข้อมูลในหลายระดับชั้น เช่น อยากดูยอดขายตั้งแต่ระดับภาพรวมไปจนถึงรายละเอียดย่อย วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Hierarchy ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณง่ายขึ้น
ภาพรวมของ Power BI License และ Product ที่เกี่ยวข้อง
Hierarchy ใน Power BI คือการจัดเรียงข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันให้เป็นโครงสร้างแบบลำดับชั้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถ drill down จากระดับบนลงไปดูรายละเอียดในระดับที่ลึกขึ้นได้ โดยปกติแล้ว Hierarchy จะมีอย่างน้อย 2 ระดับขึ้นไป แต่ละระดับจะแสดงมุมมองข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
ยกตัวอย่างเช่น:
1. พื้นที่ :
2. เวลา :
นี่คือการเปรียบเทียบระหว่างการเพิ่มฟิลด์ทีละอันลงใน visual กับการเพิ่ม Hierarchy ที่รวมทุกฟิลด์ไว้ในครั้งเดียว
ประโยชน์ของ Hierarchy
- การดูข้อมูลเชิงลึกได้หลายระดับ: Hierarchy ช่วยให้เราสามารถเจาะลึกลงไปในข้อมูลแต่ละชั้นได้ตามลำดับที่ต้องการ
- การทำงานที่ง่ายและรวดเร็ว: ช่วยให้การสร้างรายงานและการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องสร้างหลายๆ Visual เพื่อดูข้อมูลในระดับที่ต่างกัน
- ความสามารถในการ Drill Down และ Drill Up: Power BI ช่วยให้เราคลิกเจาะลึกลงในระดับข้อมูลที่มีรายละเอียดมากขึ้นได้อย่างง่ายดาย หรือลดระดับกลับขึ้นไปดูภาพรวม
- การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย: การใช้ Hierarchy ช่วยลดความซับซ้อนในการอ่านข้อมูล ทำให้การแสดงผลชัดเจนและเข้าใจง่าย
วิธีสร้าง Hierarchy ใน Power BI
ขั้นตอนที่ 1 : เตรียมข้อมูล
- เตรียมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละระดับ
ตัวอย่างข้อมูล :
Region | Country | City | Store | Sales |
North America | USA | New York | Store A | 1000 |
North America | USA | New York | Store B | 1500 |
North America | USA | Los Angeles | Store A | 1200 |
North America | USA | Los Angeles | Store B | 1100 |
North America | Canada | Toronto | Store A | 900 |
North America | Canada | Toronto | Store B | 800 |
North America | Canada | Vancouver | Store A | 700 |
North America | Canada | Vancouver | Store B | 600 |
Europe | UK | London | Store A | 1300 |
ขั้นตอนที่ 2 : สร้าง Hierarchy
1. คลิกขวาที่คอลัมน์ ที่จะให้เป็นระดับบนสุด
2. เลือก “Create Hierarchy”
3. ตั้งชื่อ Hierarchy (เช่น “Area Hierarchy”)
4. จากหนักสามารถเพิ่มคอลัมน์อื่นๆ มาวางใน Hierarchy ได้ตามที่ต้องการ คลิกขวาแล้วเลือก “Add to hierarchy” ตัวอย่างเช่น
การใช้งาน Hierarchy ใน Visual
1. การเพิ่ม Hierarchy ใน Visual :
2. การ Drill Down/Up :
ข้อควรระวังและ Best Practices
- หลีกเลี่ยงการสร้าง Hierarchy ที่ซับซ้อนเกินไป: การมีระดับชั้นที่มากเกินไปอาจทำให้ Visual ดูสับสน
- หลีกเลี่ยงการใช้ Hierarchy ที่ไม่สัมพันธ์กับข้อมูล: ควรเลือกข้อมูลที่มีการเรียงตามลำดับที่เหมาะสม
- การทดสอบ Drill Down และ Drill Up: ตรวจสอบให้แน่ใจว่า Drill Down และ Drill Up ทำงานได้อย่างถูกต้องกับข้อมูลที่คุณกำลังวิเคราะห์
ข้อจำกัดของ Hierarchy ใน Power BI
- เลือกใช้กับกราฟให้เหมาะสม
- กราฟพื้นฐานทั่วไปใช้กับ Hierarchy ได้ดี
- แต่ถ้าเป็นกราฟแปลกๆ หรือซับซ้อน อาจจะใช้ Hierarchy ไม่ได้
- ถ้าไม่แน่ใจ แนะนำให้ใช้กราฟพื้นฐานไว้ก่อน จะปลอดภัยกว่า
- อย่าทำ Hierarchy ซับซ้อนเกินไป
- จริงๆ แล้วสามารถ สร้างได้เกิน 5-10 ระดับ แต่ไม่แนะนำ
- ยิ่งมีระดับเยอะ ยิ่งทำให้ใช้งานได้ยาก
- ระวังเรื่องข้อมูลเยอะเกินไป
- ถ้าข้อมูลเยอะมาก และมี Hierarchy หลายชั้นเกินไป
- รายงานอาจจะโหลดช้า กดดูข้อมูลแต่ละที อาจต้องรอนาน
- หน้าจอก็จะดูรก เลื่อนหาข้อมูลยาก
Conclusion
Hierarchy เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลใน Power BI มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลได้หลายระดับ เข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ดีขึ้น และประหยัดเวลาในการสร้าง Visual หลายๆ อัน การสร้างและใช้งาน Hierarchy ไม่ยาก แต่ต้องวางแผนและออกแบบให้ดี เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากฟีเจอร์นี้
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Tel: 021198405
Line: @M365th
Email: Sales@m365.co.th
Reference
https://radacad.com/what-a-power-bi-hierarchy-is-and-how-to-use-it