เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Cloud Flows และ Desktop Flows ใน POWER AUTOMATE
การทำงานอัตโนมัติ (Automation) เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยลดภาระงานที่ต้องทำซ้ำๆ เพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ โดย Power Automate เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้การทำงานต่างๆ ขององค์กรกลายเป็นอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด บทความนี้อธิบายการทำงานอัตโนมัติด้วย Power Automate อย่างละเอียด โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1.การทำงานอัตโนมัติแบบดิจิทัลที่ใช้ API (API-based Digital Process Automation)
- หรือที่เรียกว่า Cloud Flows
- การทำงานแบบนี้ใช้ตัวเชื่อมต่อ (connectors) ที่ Power Automate มีให้มากกว่า 380 แอปพลิเคชัน โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด
- ตัวอย่าง connectors ที่นิยมใช้ เช่น:
- SharePoint
- Outlook
- Excel Online
- Microsoft Teams
- OneDrive for Business
- Google Drive
- Gmail
- Microsoft Forms
- Planner
- SQL Server
- วิศวกรซอฟต์แวร์สามารถสร้างตัวเชื่อมต่อแบบกำหนดเอง (custom connectors) สำหรับแอปที่มี API ได้
- แอปพลิเคชันสมัยใหม่ (รวมถึงบริการบนคลาวด์) มักจะมี API เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและฟังก์ชันต่างๆ ได้โดยการเขียนโปรแกรม
- ตัวอย่างงาน Cloud Flows เช่น:
- บันทึกไฟล์แนบจากอีเมลไปยัง OneDrive โดยอัตโนมัติ
- แจ้งเตือนข้อความใหม่ใน Microsoft Teams เมื่อได้รับอีเมลสำคัญ
- สร้างงานใหม่ใน Planner จากแบบฟอร์ม Microsoft Forms
- สำรองข้อมูลจาก Gmail ไปยัง SharePoint
- ส่งการแจ้งเตือนผ่าน Outlook เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน SQL Server
2.การทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์บนเดสก์ท็อป (Desktop-based Robotic Process Automation หรือ RPA)
- หรือที่เรียกว่า Desktop Flows
- ใช้สำหรับแอปพลิเคชันที่ไม่มี API และไม่สามารถสร้างตัวเชื่อมต่อแบบกำหนดเองได้ หรือสำหรับกระบวนการที่ต้องการการคลิกหรือการป้อนข้อมูลผ่านหน้าจอ
- ใช้วิธีสอนให้ Power Automate เลียนแบบการทำงานของผู้ใช้ เช่น การคลิกเมาส์และการกดแป้นพิมพ์ ราวกับว่าหุ่นยนต์กำลังใช้งานคอมพิวเตอร์
- ตัวอย่างงาน RPA เช่น:
- ดึงข้อมูลราคาหุ้นจากเว็บไซต์ที่ไม่มีบริการ API มาใส่ใน Excel เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลในลำดับถัดไป
- นำข้อมูลจากไฟล์ Excel ไปกรอกในโปรแกรมบัญชีที่ใช้งานผ่านหน้าจอของแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปเท่านั้น
- กรอกข้อมูลจากเอกสารที่พิมพ์บนกระดาษเข้าสู่ระบบ ERP โดยใช้เทคโนโลยี OCR สแกนเอกสาร แล้วให้ RPA นำข้อมูลที่สแกนได้กรอกเข้าไปใน ERP โดยอัตโนมัติ
- ดาวน์โหลดและอัปโหลดไฟล์จากระบบเก่า เช่น ระบบ AS400
- ดาวน์โหลดรายงานจากแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปเก่า เช่น โปรแกรมรายงานภาษีที่ใช้งานเฉพาะบนเครื่อง นำมาเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่กำหนด
การเลือกระหว่าง DPA หรือ RPA
เกณฑ์ในการเปรียบเทียบ | DPA (Cloud Flows) | RPA (Desktop Flows) |
วิธีการทำงาน | ใช้ API และ connectors (ทำงานบน Cloud เท่านั้น) | เลียนแบบการกระทำของผู้ใช้ (ทำงานได้ทั้ง Desktop และ Cloud ที่ต้องมีการคลิกหรือป้อนข้อมูล) |
ความเสถียร | สูง (รองรับการเปลี่ยนแปลงแอป) | ต่ำ (เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบหรือหน้าจอ) |
ความเหมาะสม | เหมาะสำหรับแอปที่มี API | เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันเก่าหรือไม่มี API หรือกระบวนการที่ต้องคลิกผ่านหน้าจอ |
ความง่ายในการใช้งาน | ต้องกำหนดพารามิเตอร์ของแต่ละ action หรือ trigger ให้ครบถ้วน แต่สะดวกกว่า RPA | ต้องละเอียดในการระบุขั้นตอนการทำงาน |
การดูแลรักษา | สะดวกกว่า (มี connectors มาตรฐานที่อัปเดตอัตโนมัติจากผู้ให้บริการ) | ซับซ้อน ต้องปรับปรุงเมื่อมีการอัปเดตระบบ |
Power Automate ช่วยให้สามารถผสมผสานระหว่าง DPA และ RPA ได้ เพื่อรองรับแอปพลิเคชันหลากหลายทั้งใหม่และเก่า
แนะนำหลักสูตร
Microsoft 365 for End User Training
Microsoft SharePoint Online For Front-End
Microsoft Power Apps (Canvas App) Workshop
Microsoft Power Automate (Cloud)
Microsoft Copilot Studio (Former Power Virtual Agent)
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Tel: 021198405
Line: @M365th
Email: Sales@m365.co.th