เข้าใจการใช้งาน Measure ใน Power BI

Power BI Desktop ช่วยให้เราสร้างข้อมูลเชิงลึกจากชุดข้อมูลได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน แต่อาจมีบางครั้งที่ข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอที่จะตอบคำถามสำคัญบางข้อได้ ซึ่งนั่นเองคือบทบาทของ Measures ที่เข้ามาช่วยเสริม

Measures ถูกใช้บ่อยในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การหาผลรวม ค่าเฉลี่ย ค่าน้อยที่สุด ค่าสูงสุด และการนับจำนวน ซึ่งสามารถตั้งค่าได้จากแถบ Fields

ผลลัพธ์ของ Measure จะคำนวณแบบอัตโนมัติและเปลี่ยนแปลงไปตามการโต้ตอบกับรายงาน ทำให้เราสามารถสำรวจข้อมูลแบบเฉพาะกิจ (ad-hoc) ได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น  ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Create measures

ใน Power BI Desktop, เราสามารถสร้าง Measure และดูผลลัพธ์ได้จากทั้งในมุมมองรายงาน (Report View), มุมมองตาราง (Table View), หรือมุมมองแบบจำลองข้อมูล (Model View)

Measure ที่เราสร้างขึ้นเองจะแสดงอยู่ในรายการ Fields โดยมีไอคอนรูปเครื่องคิดเลขกำกับอยู่

เราสามารถตั้งชื่อ Measure ได้ตามต้องการ และนำไปใช้กับกราฟหรือภาพแสดงผลอื่นๆ ได้เหมือนกับการลากฟิลด์ทั่วไปมาใช้งาน

Report level measures หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Report measures คือการคำนวณหรือสูตรวัดผลแบบกำหนดเองที่สร้างขึ้นโดยตรงภายในรายงาน โดยอ้างอิงจากชุดข้อมูลที่มีอยู่หรือการเชื่อมต่อข้อมูลแบบสด (Live connection)

Measure เหล่านี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มตรรกะทางธุรกิจเฉพาะทาง สร้างการคำนวณสำหรับภาพแสดงผล หรือทำการวิเคราะห์ที่ตรงกับบริบทของรายงานได้ โดยไม่ต้องแก้ไขชุดข้อมูลต้นฉบับ

Report level measures เขียนด้วยภาษา DAX (Data Analysis Expressions) และสามารถนำไปใช้กับภาพแสดงผลต่างๆ ภายในรายงาน เพื่อเพิ่มมุมมองเชิงลึกและปรับการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การวิเคราะห์

จุดเด่นของมันคือความยืดหยุ่น ที่ช่วยให้เราสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ จากโมเดลข้อมูลเดิมได้อย่างไดนามิก

หมายเหตุ:
คุณอาจสนใจ Quick Measures ซึ่งเป็น Measure สำเร็จรูปที่สามารถเลือกใช้งานได้จากกล่องคำสั่ง (Dialog Box) วิธีนี้เหมาะสำหรับการสร้าง Measure อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้เรียนรู้โครงสร้างคำสั่ง DAX (Data Analysis Expressions) ไปในตัว เพราะระบบจะแสดงสูตร DAX ที่สร้างให้อัตโนมัติ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปดูและศึกษาได้  ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ quick measures

เมื่อเราสร้าง Measure ขึ้นเอง จะต้องใช้ภาษาสูตรที่เรียกว่า DAX (Data Analysis Expressions)

DAX มีคลังฟังก์ชันมากกว่า 200 รายการ รวมถึงโอเปอเรเตอร์และโครงสร้างคำสั่งต่างๆ ซึ่งช่วยให้สามารถสร้าง Measure ที่มีความยืดหยุ่นสูง และตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ

สูตร DAX มีลักษณะคล้ายกับสูตรใน Excel มาก และยังใช้ฟังก์ชันที่หลายคนคุ้นเคย เช่น DATE, SUM, LEFT เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ฟังก์ชัน DAX ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Data) ซึ่งเป็นลักษณะของข้อมูลใน Power BI Desktop

Janice เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัท Contoso
เธอได้รับมอบหมายให้เตรียมรายงานยอดขายของตัวแทนจำหน่ายในปีหน้า โดยอิงจากยอดขายของปีที่ผ่านมา

Janice มีข้อมูลยอดขายของปีที่แล้วอยู่แล้ว และเธอ ตั้งสมมติฐานเอง ว่ายอดขายในปีหน้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6% เพราะมีแผนจัดโปรโมชั่นหลายรายการ เธอจึงอยากแสดงยอดขาย “คาดการณ์” ตามตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้

เพื่อเริ่มต้น เธอนำเข้าข้อมูลยอดขายของปีที่แล้วเข้า Power BI Desktop และเจอฟิลด์ชื่อ SalesAmount ในตาราง Reseller Sales เธอเปลี่ยนชื่อฟิลด์นี้เป็น Last Years Sales เพื่อให้ง่ายต่อการอ้างอิง แล้วลากฟิลด์นี้ลงบนหน้ารายงาน

Power BI แสดงค่ารวมของยอดขายปีที่แล้วให้อัตโนมัติ (เพราะระบบสร้าง Measure ชั่วคราวให้โดยรวมค่าทั้งหมดให้ทันที)

ต่อจากนั้น Janice ต้องการแสดง ยอดขายที่คาดว่าจะเป็น ถ้าเพิ่มขึ้น 6%
เธอจึงสร้าง Measure ใหม่ขึ้นมาเอง โดยใช้เมนู New Measure แล้วใส่สูตร DAX ดังนี้:

จากนั้นเธอลาก Measure นี้ไปวางในกราฟเดียวกัน
ตอนนี้ Janice ก็สามารถเปรียบเทียบยอดขายของปีที่แล้วกับตัวเลขที่เธอคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีหน้าได้แล้ว

ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็วและไม่ซับซ้อน Janice ก็สามารถสร้าง Measure สำหรับคำนวณยอดขายที่คาดการณ์ไว้ได้เรียบร้อย

จากนั้นเธอยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมได้อีก เช่น การกรองเฉพาะตัวแทนจำหน่ายบางราย หรือการเพิ่มฟิลด์อื่นๆ ลงในรายงานเพื่อเจาะลึกมุมมองตามที่ต้องการ

นอกจากการคำนวณแล้ว เราสามารถกำหนด หมวดหมู่ข้อมูล (Data Category) ให้กับ Measure ได้ด้วย

หนึ่งในตัวอย่างการใช้งานคือ การกำหนด Measure ให้แสดงเป็น URL แบบไดนามิก โดยเลือกหมวดหมู่ข้อมูลเป็น Web URL
วิธีนี้ช่วยให้เราสร้างตารางที่แสดงค่า Measure ในรูปแบบลิงก์ ซึ่งผู้ใช้สามารถคลิกเพื่อเปิด URL ที่สร้างขึ้นตามค่าที่เลือกได้

เทคนิคนี้มีประโยชน์มากในกรณีที่ต้องการลิงก์ไปยังรายงาน Power BI อื่นๆ โดยใส่ตัวกรองผ่านพารามิเตอร์ใน URL  (URL filter parameters)

Measure ทุกตัวจะมี ตารางหลัก (Home table) ซึ่งระบุว่า Measure นั้นจะแสดงอยู่ที่ใดในรายการ Fields เราสามารถเปลี่ยนตำแหน่งของ Measure ได้โดยเลือกตารางอื่นจากโมเดลข้อมูล

นอกจากนี้เรายังสามารถจัดระเบียบฟิลด์ต่างๆ ภายในตารางให้เป็นหมวดหมู่ได้ด้วย Display Folder

  • เลือก Model จากแถบด้านซ้ายของ Power BI Desktop
  • หลังจากนั้นที่หน้าต่าง Properties  เลือกฟิลด์ที่ต้องการย้าย
  • พิมพ์ชื่อโฟลเดอร์ใหม่ลงในช่อง Display folder เพื่อสร้างโฟลเดอร์ การพิมพ์ชื่อในช่องนี้จะทำให้ฟิลด์ที่เลือกถูกย้ายเข้าไปอยู่ในโฟลเดอร์นั้นโดยอัตโนมัติ

เราสามารถสร้าง โฟลเดอร์ย่อย (Subfolder) ได้โดยใช้เครื่องหมาย backslash (\)
เช่น Finance\Currencies จะสร้างโฟลเดอร์ชื่อ Finance และภายในมีโฟลเดอร์ย่อยชื่อ Currencies

หากต้องการให้ฟิลด์ปรากฏในหลายโฟลเดอร์ ให้ใช้เครื่องหมาย semicolon (;) เพื่อแยกชื่อโฟลเดอร์
เช่น Products\Names;Departments

ฟิลด์นั้นจะแสดงในทั้งโฟลเดอร์ Departments และ Products > Names
นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างตารางพิเศษที่มีเฉพาะ Measure อย่างเดียวได้ด้วย

ตารางนี้จะอยู่ด้านบนสุดของรายการ Fields เสมอ

วิธีทำคือ

  1. สร้างตารางที่มีเพียงคอลัมน์เดียว โดยใช้คำสั่ง Enter data
  2. หลังจากนั้น ย้าย Measures ทั้งหมดไปไว้ในตารางนี้
  3. สุดท้ายให้ซ่อนคอลัมน์ (แต่ไม่ต้องซ่อนทั้งตาราง) ที่ได้สร้างขึ้นไว้
  4. คลิกปุ่มลูกศรที่ด้านบนของรายการ Fields เพื่อปิดและเปิดใหม่อีกครั้ง เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง.

💡 เคล็ดลับ:
แม้ว่า Measure ที่ซ่อนไว้ (Hidden Measures) จะยังสามารถดูและใช้งานได้ใน Power BI Desktop
แต่คุณจะ ไม่เห็น Measure เหล่านี้ใน Excel หรือ Power BI Service
เนื่องจากทั้ง Excel และ Power BI Service ถูกมองว่าเป็น “เครื่องมือฝั่งผู้ใช้งาน (Client Tools)

เราสามารถปรับแต่งการแสดงผลของ Measure ในภาพแสดงผล (Visuals) ได้ด้วยการใช้ Dynamic Format Strings ซึ่งช่วยให้กำหนดรูปแบบการแสดงผลแบบมีเงื่อนไข (Conditional) ได้ผ่านสูตร DAX แยกต่างหากหากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม ดูได้ที่ Dynamic format strings

เนื้อหาที่นำเสนอในบทความนี้เป็นเพียงบทนำสั้นๆ เกี่ยวกับการใช้งาน Measure เท่านั้น
หากต้องการเรียนรู้วิธีสร้าง Measure ด้วยตัวเองเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ Tutorial: Create your own measures in Power BI Desktop. ภายในบทเรียนมีไฟล์ตัวอย่างให้ดาวน์โหลด พร้อมคำแนะนำแบบทีละขั้นตอนในการสร้าง Measure เพิ่มเติม

หากต้องการศึกษาลึกขึ้นเกี่ยวกับภาษา DAX

ภาษา DAX เองมีใช้มาแล้วหลายปีใน Power Pivot บน Excel และ SQL Server Analysis Services
ยังมีแหล่งความรู้ดีๆ อื่นๆ อีกมากมาย เช่น

  • DAX Resource Center Wiki — ชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้าน Business Intelligence ที่มาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ DAX

Measure คือค่าที่เราคำนวณขึ้นมาใหม่จากข้อมูลในโมเดล โดยใช้สูตรที่เขียนด้วยภาษา DAX เพื่อให้ได้ค่าที่สามารถนำไปวิเคราะห์หรือสรุปผลได้ตามต้องการ เป็นฟีเจอร์สำคัญใน Power BI ที่ช่วยให้การแสดงผลข้อมูลมีความยืดหยุ่น แม่นยำ และตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อเราเข้าใจหลักการของ Measure และสามารถจัดระเบียบการใช้งานได้อย่างเหมาะสมย่อมทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น

แนะนำหลักสูตร

Tableau for Beginners
Microsoft Power BI for Beginners
Microsoft 365 for End User Training
Microsoft SharePoint Online For Front-End
Microsoft Power Apps (Canvas App) Workshop
Microsoft Power Automate (Cloud)
Microsoft Copilot Studio (Former Power Virtual Agent)

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Tel: 021198405

Line: @M365th

Email: Sales@m365.co.th

Reference : https://learn.microsoft.com/en-us/power-bi/transform-model/desktop-measures